วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร




ประวัติวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร เดิมชื่อ โรงเรียนช่างไม้สมุทรสาคร ซึ่งเริ่มทำการเปิดสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยเริ่มเปิดสอนในรายวิชาช่างไม้ก่อสร้าง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนการช่างสมุทรสาคร โรงเรียนเทคนิคสมุทรสาคร และในปัจจุบันได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร" สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2524


พ.ศ. 2481 - 2487 เปิดทำการสอนชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปี รับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 ทั้งอยู่ประจำและไปกลับ
พ.ศ. 2495 - 2501 เปิดขยายทำการสอนชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 3 ปี รับนักเรียนที่จบชั้นอาชีวศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียน
พ.ศ. 2502 - 2503 เปิดสอนประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง รับนักเรียนที่เรียนจบชั้นอาชีวศึกษาตอนปลายหลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2504 - 2516 เปลี่ยนแผนการศึกษาเปิดรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 เข้าเรียนในชั้น ม.ศ. 1 - 3 สายอาชีพ หลักสูตร 3 ปี และรับนักเรียนที่จบ ชั้น ม.ศ. 3 เข้าเรียนในชั้น ม.ศ. 4 - 6 สายอาชีพ หลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2518 - 2522 เปลี่ยนแผนการศึกษาเปิดรับนักเรียนที่จบชั้น ม.ศ. 3 เข้าเรียนในชั้น ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพหลักสูตร 2 ปี เรียนต่อชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตร 1 ปี
พ.ศ. 2524 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2524 กำหนดให้รับนักเรียนที่จบชั้น ม. 3 เข้าเรียนตามหลักสูตร ปวช. 3 ปี
พ.ศ. 2527 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2527
พ.ศ. 2530 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2530
พ.ศ. 2533 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2530 ปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2533
พ.ศ. 2536 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2536
พ.ศ. 2538 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2538 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2540 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2540

ภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม


ปัญหาสิ่งแวดล้อมสมุทรสาคร

ปัญหาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาคร
1) ปัญหากลิ่นเหม็น ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาครได้เกิดปัญหากลิ่นเหม็นอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตของโรงงานปลาป่น จำนวน 32 โรง และโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ จำนวน 20 โรง ซึ่งผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่เน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น โดยไม่ได้ติดตั้งระบบขจัดกลิ่น หรือไม่เปิดระบบขจัดกลิ่นเพื่อลดต้นทุน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน
และสร้างความเคยชินให้ยอมรับโดยอ้างว่าเป็นกลิ่นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งและช่วงฤดูฝนที่อากาศอับชื้น จะส่งกลิ่นรุนแรงมาก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยรวม จังหวัดได้เชิญประชุมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือ แนะนำว่ากล่าว ตักเตือน และดำเนินการตามกฎหมาย ปัจจุบันปัญหาเรื่องกลิ่นลดน้อยลง และจังหวัดจะได้ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงงานเหล่านี้ เข้าสู่ระบบมาตรฐาน Good Manufacturing Practice : GMP ต่อไป
2) ปัญหาขยะมูลฝอย เริ่มจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น และคาดว่าในอนาคตจะเป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดที่จะต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากปัจจุบันขยะมูลฝอยทั้งจากครัวเรือนและโรงงาน มีปริมาณสูงมากถึง 2 แสนตัน/ปี การดูแลเก็บขนขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัด ส่วนใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการ
บริการเก็บขยะมูลฝอยยังไม่สามารถกระทำได้อย่างทั่วถึง ทำให้มีปริมาณขยะตกค้างในแต่ละวันจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น สถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม และส่วนหนึ่งเกิดจากตลาดนัด ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีตลาดนัดทั่วทั้งจังหวัดประมาณ 142 แห่ง เป็นแหล่งผลิตขยะรายใหญ่
จังหวัดสมุทรสาครได้มอบหมายให้ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะแบบกลุ่ม Cluster ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง ระดมความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน และประชาชน โดยเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยบูรณาการแผนงานโครงการและงบประมาณ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อความร่วมมือของประชาชน โดยเน้นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักในประโยชน์ของการ Recycle ขยะเพื่อผลในระยะยาวด้วย
3) ปัญหาน้ำเน่าเสีย จากการที่ได้มีการทำกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจหลายอย่างริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้แก่การเพาะปลูก การทำนากุ้ง บ่อเลี้ยงปลา การทำฟาร์มสุกร และการอุตสาหกรรม น้ำเสียจากการทำกิจกรรมดังกล่าวที่ยังขาดการควบคุมที่ดี รวมทั้งน้ำเสียจากชุมชน อาคาร บ้านเรือน ร้านอาหาร ได้ถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลองสายต่างๆ ตลอดจนน้ำเสียจากกรุงเทพมหานครที่เคลื่อนตัวผ่านเข้ามาตามคลองสายสำคัญ เช่น คลองภาษีเจริญ คลองทวีวัฒนา ไหลลงมาสู่แม่น้ำท่าจีน และอ่าวไทย ทำให้
น้ำแม่น้ำท่าจีนมีค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด มีสารปนเปื้อนของโลหะหนัก ได้แก่ สารตะกั่ว สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และยังมีแบคทีเรียเกินมาตรฐานด้วย ทำให้คุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนเสื่อมลงและอาจเกิดมลภาวะจนถึงขั้นวิกฤต
ซึ่งขณะนี้คุณภาพน้ำ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 5 ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เพื่อการคมนาคมเท่านั้น ไม่ปลอดภัยสำหรับการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีน ตอนล่างบริเวณพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองอ้อมน้อย- อ้อมใหญ่ ถือว่าเป็นพื้นที่มีปัญหาวิกฤตขั้นรุนแรง เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่มากถึง 966 โรงงาน ปริมาณน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ในอัตรา 69:31
ดังนั้น เพื่อลดภาวะมลพิษลงสู่แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบให้องค์การจัดการน้ำเสีย ดำเนินการโครงการบำบัดน้ำเสียรวมอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 61 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 40,000 ไร่ ในเขตเทศบาลเมืองอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร และเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขิง องค์การบริหารส่วนตำบลยายชา องค์การบริหารส่วนตำบลสามพราน จังหวัดนครปฐม
โครงการบำบัดน้ำเสียดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ 61 ไร่ ในซอยวิรุณราษฎร์ เทศบาลเมืองอ้อมน้อย เป็นระบบบำบัดแบบตะกอนเร่ง ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 ปี (2544-2569) แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี (2544-2557) และระยะเวลาเดินระบบ 24 ปี (2546-2569) โดยในปี 2546 ระบบและโรงบำบัด บางส่วนจะเริ่มใช้งานได้
หากโครงการแล้วเสร็จจะสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 91,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีค่าใช้จ่ายโครงการ 5,236 ล้านบาท เป็นเงินลงทุน 3,329.12 ล้านบาท เงินค่าใช้จ่ายหมุนเวียน (บริษัทร่วมทุน) 1,906.90 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่บริษัทร่วมทุนจะจัดเก็บจากค่าบริการบำบัดน้ำเสียประเภทบ้านเรือน 3.50 บาท ต่อ 1 ลบ.ม. โรงงานอุตสาหกรรม 19 บาท ต่อ 1 ลบ.ม. ระยะเวลาคืนทุน 7 ปี
4) ปัญหาป่าชายเลนเสื่อมโทรม ในอดีตจังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายฝั่งทะเล ซึ่งมีความยาว 41.8 กิโลเมตร ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรสาครได้ถูกกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 2 ป่า พื้นที่รวม 16,208 ไร่ ได้แก่ ป่าอ่าวมหาชัยฝั่งตะวันออก อยู่ในท้องที่ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร มีเนื้อที่ 7,343 ไร่ และป่าอ่าวมหาชัยฝั่งตะวันตก อยู่ในท้องถิ่นตำบลนาโคก ตำบลกาหลง ตำบลบางโทรัด ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางกระเจ้า และตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร มีเนื้อที่ 8,865 ไร่ ปัจจุบันป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 2 ป่า พื้นที่ส่วนใหญ่กลายสภาพเป็นทะเล เนื่องจากคลื่นลมและกระแสน้ำที่พัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ ทำให้ป่าชายเลนถูกทำลาย จะมีสภาพป่าเหลืออยู่บ้างเพียงจำนวนน้อย มีลักษณะเป็นหย่อมๆ บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอ่าวมหาชัยฝั่งตะวันตกในท้องที่ตำบลบางหญ้าแพรก มีเนื้อที่ประมาณ 450 ไร่
จังหวัดสมุทรสาคร ได้ดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่จังหวัด โดยจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ในเขตพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าอ่าวมหาชัยฝั่งตะวันตก ท้องที่ตำบลบางหญ้าแพรก 226 ไร่
และได้ดำเนินการนอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพเสื่อมโทรมในพื้นที่ ต.พันท้ายนรสิงห์ และ ต.โคกขาม อีกประมาณ 50 กว่าไร่ นอกจากนี้ ได้จัดทำโครงการพื้นฟูและส่งเสริมป่าชายเลนอ่าวมหาชัยฝั่งตะวันตก
จังหวัดสมุทรสาคร โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน พื้นที่โครงการตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 5-6 ต.บางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร
สำหรับการดำเนินมาตรการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ในปี 2550-2551 จังหวัดได้สนับสนุนงบประมาณตามโครงการอยู่ดีมีสุข โดยการประชาคมหมู่บ้าน จัดทำโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น เป็นจำนวนเงิน 7,832,182 บาท ในพื้นที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ และตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร เพื่อช่วยป้องกันคลื่นทะเลให้เกิดการตกตะกอนหลังแนวไม้ไผ่ เพื่อป้องกันคลื่นทะเล โดยจะรุกลงไปใน
ทะเลและปลูกป่าชายเลนตามไป รวมทั้งในปีงบประมาณ 2552 จังหวัดสมุทรสาครได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจำนวน 40 ล้านบาท ซึ่งจะดำเนินการได้ระยะทาง 5.56 กิโลเมตร ยังคงเหลือที่จะต้องจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณอีก 14.49 กิโลเมตร(รวม 20 กิโลเมตร)ด้วย
5 ) ปัญหาน้ำท่วม จังหวัดสมุทรสาคร มีภาวะน้ำขึ้น-น้ำลง น้ำทะเลหนุน และเป็นจังหวัดปลายน้ำรวมทั้งมีการทรุดตัวของดิน จึงประสบปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดจึงได้ระดมความคิดจากส่วนราชการภาคเอกชน และท้องถิ่น นำเสนอแผนป้องกันอุทกภัยจังหวัดสมุทรสาคร และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 อนุมัติงบประมาณจำนวน 327.70 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำหรับการก่อสร้างเขื่อนในเขตตลาดมหาชัย
กรมชลประทานจะดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2551-2552 ในวงเงิน 50 ล้านบาทเศษ

วันยาเสพติดโลก